บันทึการเรียนครั้งที่ 6
ประจำวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เทคนิค คือ จัให้เห็นเป็นรูปธรรม
นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง บทบาทสมมุติ การประกอบอาหาร ปริศนาคำทาย
การนับเลข 1-10
เลข 1 = เสาธง เลข 6 = หัวลง
เลข 2 = คอเป็ด เลข 7 = ไม้เท้า
เลข 3 = สองหยัก เลข 8 = ไข่แฝด
เลข 4 = เก้าอี้ เลข 9 = หัวขึ้น
เลข 5 = มีหลังคา เลข 10 = มี 1 กับ 0
นับเป็นคำคล้องจอง
ติดตัวเลขรอบๆห้อง
-นับจำนวนต่างๆได้
-ทำแผนภูมิเพื่อให้เห็นชัดเจน
-การจับออก 1:1
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
ตัดกระดาษ 1.5 x 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น
ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยม 10 อัน
ทักษะ
สถานที่ที่นักศึกษากลุ่ม 102 อยากไปมากที่สุดในวันหยุด
สรุปผล คือ สวนรถไฟ 3 คน
เกาะ 10 คน
น้ำตก 3 คน
เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์
โดย นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว
สรุป จัดการเรียนรู้แบบเรียน + เล่น = สนุกและเกิดการเรียนรู้
อิกทั้งเพื่อเป็นการสืบสารวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจในเรื่อง การนับ รู้จักตัวเลข เลข1-30
เลขคู่-เลขคี่ โดยผ่านการละเล่นต่างๆ เช่น รีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย เป็นต้น
- ศึกษากลุ่มเด็กว่าต้องการสิ่งใด
- วัตถุประสงค์ต้องคำนึงถึงอายุเด็ก
- วางแผนเลือกรูปแบบให้เหมาะสม
- การสอนบูรณาการให้ได้องค์รวม
เริ่มจากสิ่งที่ ง่าย >> ยาก รูปธรรม >> นามธรรม
วิจัย เรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่น
โดย นางสาวสุธินี โนนบริบูรณ์
สรุป จากการวิจัยใช้กับเด็ก ชั้นอนุบาล 2 ทำทั้งหมด 24 กิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของ
รูปทรง ขนาด ชนิด สี ซึ่งสื่อนั้นจะใช้จากวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น กะลามะพร้าว ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม่ไผ่
ตัวอย่าง ทำไม้บล็อกจากไม้ประดู่
การเรียงลำดับกระบอกไม้ไผ่ ใหญ่ > กลาง > เล็ก
ผลการวิจัย คือ เด็กที่ได้ร่วมกิจกรรมการวิจัยจะมีพัตนาการดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทำกิจกรรม
วิธีการสอน
ใช้การสอบแบบบรรยายประกอบกับโปรแกรมMicrosoft Office Power Point เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ประเมินสภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อการเรียน
ประเมินตนเอง
เตรียมตัวมาเรียนมาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และมีการจดบันทึกในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดช่วยกันได้ดีหรือบางที่ไม่ตั้งใจฟังเมื่อเพื่อนนำเสนองาน และการแต่งกายไม่สุภาพ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเองการแต่งกายเหมาะสม และเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น