วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 

                                  บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


                     ประจำวันศุกร์ที่   20  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558





เพื่อน เลขที่ 16 นำเสนอโทรทัศน์ครู



เรื่อง ผลไม้แสนสุข ซึ่งเป็นการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งจะให้เด็กได้ชิมรสชาติของผลไม้ ได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมเคลื่อนไหวด้วยการใช้คำคล้องจอง ได้เรื่องของร่างกายและภาษา เรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ราคา การนับ การวัด 

เพื่อน เลขที่ 17 นำเสนอโทรทัศน์ครู

เรื่อง ประสาทสัมผัสทัง 5 ความรู้ที่ได้ ประสาทสัมผัสที้ง 5 ก็จะมี หู ตา จมูก ผิวกาย และลิ้น มีการจัดกิจกรรมให้เด็กทำทั้ง 5 ด้าน       

1.การฟัง        2.การมอง   3.การดมกลิ่น    4.การใช้มือ    5.การชิม 


ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมวันนี้ นำป้ายชื่อไปแปะในหัวข้อว่ามาเรียนกี่โมง  พร้อมกับวาดภาพประกอบเป็นรูปนาฬิกาว่ามา

กี่โมง เรียนเรื่อง ลำดับ ตัวเลข เวลา องค์ประกอบนาฬิกา โดยครูถ้าจะสอนเด็กในเรื่องนี้จะต้องออกแบบ

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


1.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ



2.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
4.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
5.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
6.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง


                                                               

                                    เพลง นับนิ้วมือ


            นี้คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
            มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว
           นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
           นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ




ความสำคัญในการจัดประสบการณ์แบบูรณาการ 


1.ใช้ในชีวิตประจำวันเเละใช้ได้ในชีวิตจริง เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ต่างๆ 
ผสมผสานกันทำให้ผู้รียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ


2.ทำให้เกิดการถ่ายทอดถ่ายโอนประสบการณ์ของคณิตศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน



ทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนรู้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน



3.ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆในหลักสูตร จึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้



4.ช่วยสร้างความรู้ ทักษะเจตคติ "แบบพหุปัญญา"



5.สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน






ทักษะ


ได้กระบวนการคิดการแก้ไขปัญหา เเละได้ช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน 
ได้กระบวนการคิดการทำงานเป็นกลุ่ม เเละได้ทักษะในการถามคำถามสอนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดคำตอบ 
โดยช่วยกันระดมความคิด จากหลายๆคำตอบ พื่อนำมาเรียบเรียงเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ 
โดยอาจารย์จะรับฟังคำตอบอย่างมีเหตุมีผล เเละในคำตอบไหนที่ไม่สมบูรณ์อาจารย์ก็จะตอบคำตอบนั้นให้สมบูรณ์แบบครบถ้วน



ประเมินห้องเรียน
เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดีสภาพห้องเรียนมีความสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อยใส่ใจตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึก ตอบคำถามในบางครั้ง


ประเมินเพื่อน

ตอบคำถามกันอย่างสนุกสนานเพราะได้ช่วยกันตอบเเละเกิดข้อสงสัยเละทำให้การรียนสนุกสนานยิ่งขึ้น
เพื่อนๆในห้องให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ตอบคำถามได้อย่างชัดเจนในเรื่องที่เราอยากจะรู้เเละมีการเตรียมตัวในการสอนมาเป็นอย่างดี เนื้อหาครบถ้วนและมีการสรุปการสอนให้นักศึกษาฟังอย่างชัดเจน 
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย 






***ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ตั้งเเต่เล็กจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?



มีปัญหาการขาดทักษะทางคณิตศาสตร์
อาจส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเอง เมื่อไปเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
เด็กจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ และใช้เหตุผลไม่เป็น ในการดำรงชีวิตในชีวิตประวันเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ 


                            
         
                                                                               
     

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




                                   บันทึการเรียนครั้งที่ 6

                              

                     ประจำวันศุกร์ที่ 13  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  เทคนิค คือ จัให้เห็นเป็นรูปธรรม
นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง บทบาทสมมุติ การประกอบอาหาร ปริศนาคำทาย

การนับเลข 1-10
    เลข 1 = เสาธง           เลข 6 = หัวลง
    เลข 2 = คอเป็ด          เลข 7 = ไม้เท้า
    เลข 3 = สองหยัก       เลข 8 = ไข่แฝด
    เลข 4 = เก้าอี้             เลข 9 = หัวขึ้น
    เลข 5 = มีหลังคา       เลข 10 =  มี 1 กับ 0
นับเป็นคำคล้องจอง
ติดตัวเลขรอบๆห้อง
-นับจำนวนต่างๆได้
-ทำแผนภูมิเพื่อให้เห็นชัดเจน
-การจับออก 1:1

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
ตัดกระดาษ 1.5 x 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น

ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยม 10 อัน



  










ทักษะ

สถานที่ที่นักศึกษากลุ่ม 102 อยากไปมากที่สุดในวันหยุด






สรุปผล คือ สวนรถไฟ 3   คน
                  เกาะ         10  คน
                  น้ำตก        3   คน

เสนอวิจัย 
เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์
โดย  นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว

สรุป จัดการเรียนรู้แบบเรียน + เล่น = สนุกและเกิดการเรียนรู้
อิกทั้งเพื่อเป็นการสืบสารวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจในเรื่อง การนับ รู้จักตัวเลข เลข1-30 
เลขคู่-เลขคี่  โดยผ่านการละเล่นต่างๆ เช่น รีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย เป็นต้น

- ศึกษากลุ่มเด็กว่าต้องการสิ่งใด
- วัตถุประสงค์ต้องคำนึงถึงอายุเด็ก
- วางแผนเลือกรูปแบบให้เหมาะสม
- การสอนบูรณาการให้ได้องค์รวม
เริ่มจากสิ่งที่ ง่าย >> ยาก  รูปธรรม >> นามธรรม

วิจัย เรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่น
โดย นางสาวสุธินี โนนบริบูรณ์

สรุป จากการวิจัยใช้กับเด็ก ชั้นอนุบาล 2 ทำทั้งหมด 24 กิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของ
รูปทรง ขนาด ชนิด สี  ซึ่งสื่อนั้นจะใช้จากวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น กะลามะพร้าว ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม่ไผ่

ตัวอย่าง  ทำไม้บล็อกจากไม้ประดู่ 
               การเรียงลำดับกระบอกไม้ไผ่ ใหญ่ > กลาง > เล็ก
ผลการวิจัย คือ เด็กที่ได้ร่วมกิจกรรมการวิจัยจะมีพัตนาการดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทำกิจกรรม


วิธีการสอน   
 ใช้การสอบแบบบรรยายประกอบกับโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน 
    
ประเมินสภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อการเรียน 

ประเมินตนเอง

   เตรียมตัวมาเรียนมาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และมีการจดบันทึกในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดช่วยกันได้ดีหรือบางที่ไม่ตั้งใจฟังเมื่อเพื่อนนำเสนองาน  และการแต่งกายไม่สุภาพ


ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ความเป็นกันเองการแต่งกายเหมาะสม และเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

    





วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

                       ประจำวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558




ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์


      เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน ในชั้นปฐมศึกษา เน้นลงมือกระทำ จับต้องได้เป็นรูปธรรม ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนนั้น อาจจัดเป็นโมเดลการศึกษา หรือ ให้เด็กนำวัสดุ สื่อ การเรียนมาเอง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะ

นำเสนอบทความ
โดย นางสาวชนากานต์ แสนสุข
สรุป
การประสบการณ์จัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การให้เด็กรู้คณิตศาสตร์จะทำให้เด็กมี้หตุผล เข้าใจ วิธีกระบารการคิดเพื่อ
- พัฒนาความคิดรวบยอด การบวก การลบ
- รู้กระบวรการหาคำตอบ เช่น การชั่งน้ำหนัก
- รู้จักคำศัพท์และสัญลักษณ์
- รู้จักการนับ การวัด
สามารถทำได้ตั้งแต่เด็ก ควรจัดประสบการณ์จัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม
                                                                 
                                      เพลง จัดแถว

               
สองมือเราชูตรง        แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                                         ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


                                           เพลง ซ้าย-ขวา


ยืนให้ตัวตรง                    ก้มหัวลงตบมือแผละ

แขนซ้ายอยู่ไหน                 หันตัวไปทางนั้นแหละ



                                             เพลง  นกกระจิบ



   นั่นนกบินมาลิบ ลิบ       นกกระจิบ 1 2 3 4 5 

              อีกฝูงบินล่องลอยมา       6 7 8 9 10 ตัว



         ตารางแสดงการมาเรียนขอนักเรียนในห้องเรียน


   จำนวนนักเรียนทั้งหมด



จำนวนนักเรียนที่มาเรียน



   จำนวนนักเรียนที่มาเรียน และ ไม่มาเรียน



  การนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้
 เนื่องด้วยตารางนั้นเป็นภาพ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และจดจำได้ง่าย เพราะ เด็กในวัยนี้จะเกิดการเรียนรู้ได้เร็วจากภาพและสัญลักษณ์  สอนเด็กในเรื่องการนับ และ รู้จักการสังเกตุ 


   
  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ครฺตศาสตร์ แบ่งเป็น 6 สาระด้วยกัน

  1. จำนวนและการดำเนินการ  เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง
  2. การวัด   เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  3. เรขาคณิต  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
  4. พีชคณิต   เข้าใจแบบรูปที่สัมพันธ์กัน
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม นำเสนอในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ใช้แก้ปัญหา ให้เหตุผล

       คุณภาพของเด็กเมื่อเรียนจบ

  • มีความคิดเชิงคณิต เช่น จำนวนนับ 1 ถึง 20  เข้าใจหลักการนับ
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น

 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฎิบัติ





สาระที่ 1. เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง



การรวบรวมและการแยกกลุ่ม



ความหมายของการรวม



การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 


สาระที่ 2 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา


สาระที่ 3 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง


รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ


สาระที่4 แบบรูปรูปและความสัมพันธ์


สาระที่ 5 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งเเวดล้อมและนำเสนอข้อมูลอย่างงาย


สาระที่ 6 แก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อตวามหมายทางคณิตศาสตร์




ทักษะ

- ระดมความคิด แบบทดสอบก่อนเรียน

- ตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

-  ทำกิจกรรมเช็คชื่อเข้าเรียน


วิธีการสอน


- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

- ยกตัวอย่างประกอบในการสอน

ประเมินสภาพห้องเรียน

อุปกรณ์ในการสอนสะดวกต่อการใช้งาน

-ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย

ประเมินตนเอง



- มาเรียนตรงเวลา  พูดคุยขณะเรียน และง่วงนอน 


ประเมินเพื่อน

มีเพื่อนบางส่วนเข้าเรียนสาย มีคุยกันบ้างบางเวลาที่อาจารย์สอนและแต่งกายผิดระเบียบ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีให้ร้องเพลงด้วยเพื่อกระตุ้นไม่ให้ง่วงมาก  และมีการพักประมาณ 10 นาทีเพื่อผ่อนคลายสมองและเข้าห้องน้ำ กินน้ำ