วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปจากการดูวิดีโอ

    
                                                 
                                              
                                       สรุปจากการดูวิดีโอ


           รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 3-3

            การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 3-3 การทบทวนการจับคู่ภาพเหมือนให้เด็กเรียงตัวของตัวเลขที่เหมือนกัน ให้ดูจำนวนตัวเลขว่าเป็นเลขอะไร เช่น เลข 1 2 3 4
จากนั้นก็เริ่มการบวก การบวกภาพ ไม่ใช่การบวกตัวเลข เช่น จำนวนสัตว์ จำนวนดินสอ ให้เด็กได้หยิบ ได้จับ เพื่อให้เด็กได้เกิดการจำ เด็กในวัยนี้การบวกเลขครไม่เกิน 10 ไม่ใช้การลบ การสอนการบวกต้องมีภาพ มีตัวเลข เด็กก็จะรับรู้การเรียนแบบนี้มากขึ้นเด็กจะม่ได้โฟกัสที่ตัวเลอย่างเดียว เช่น 2 + 2 = 4 การบวกของเด็กวัยนี้จะเน้นรูปปการบวกจึงจะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น รูปภาพต่างๆ
         การเรียนเลขคู่ - เลขคี่ คือให้เด็กวางของ 1 ชิ้น กับ 1ชิ้น   2 ชิ้น กับ 2 ชิ้น  เริ่มจากการจบสิ่งของให้เด็กเกิดความเข้าใจคำว่า คู่ คำว่าคี่ ให้เด็กเล่นมือเล่นปฎิบัติจริงค่อยมาพัฒนาเป็นตัวเลข และเป็นสัญลักษณ์ พอเด็กจับบ่อยๆเด็กจะเกิดการเรียนรุ้ ไม่ใช่แค่วิชาการอย่างเดียว เพระเด็กวัยนี้ต้องใช้กระบวนการคิด เพราะเด็กบางคนจใช้กระบวการจำ เด็กจะไม่เกิดการปรับตัว เด็กตอสมารถแก้ปัญหาล่วงหน้าได้  การสอนของผู้ปกครองต้องใจเย็นให้เด็กคิดเอง ต้อคอยควบคุม ไม่ใช่้การช่วยเหลือมกกินไปถ้าทำผิดก็อธิบาย เด็กจะสามรถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

สรุปวิจัย

     
                                     


                                     สรุปงานวิจัย


         การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
        



                              ความมุ่งหมายของการวิจัย


         

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุ 5 – 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาวัยราชภัฏสวนดุสิต ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งกลุ่ม
มา จำนวน 15 คน เพื่อรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการ
เรียนรู้เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้ง
นี้ คือ แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ และแบบทดสอบ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองแบบ
One – Group Pretest – Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t – test
Dependent Sample




                                         ผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของ

ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง
ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด
ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ

หลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น
   พบว่าการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมและจำแนกรายทักษะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นและอยู่ในระดับดี
เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีคะแนนความสามารถทางทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558



                                          บันทึกการเรียน


                          ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


     **เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครูเกียวกับคณิตศาสตร์ของปฐมวัย**


  1. นำเสนอโทรทัศน์ครู
    นางสาวจรีพร เฉลิมจาน

    ก่อนเรียนครูจะอบอุ่นร่างกาย ให้เด็กคิดท่าทางด้วยตนเอง เช่น เครื่งหมายบวก เครื่งหมายลบ เครื่องหมายเท่ากับ ครูจะนำเพลงที่มีเนื้อหาดังกล่าวมาใช้ เมื่อเด็กได้ยินคำที่ตรงกับคำว่า บวก ลบ เท่ากับ เด็กจะทำท่าทางตาม

    นางสาวกรกช เดชประเสริฐ

    เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข 1-9 และ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น one = 1 
    ครูจะใช้สิ่งของที่เป็นจริงในการสอน เช่น สอนเรื่องการบวก  3+2 = ? มีส้ม 3 ผล แม่ให้อีก 2 ผล จะมีส้มทั้งหมด 5 ผล 

    นางสาวปรางชมพู บุญชม

    เป็นการสอนเด็กอายุ 2-3 ปี ยังคงสอนแบบสนุก หาสื่อที่ดึงดูดความสนใจเด็ก ตัวเอย่างเช่น ครูจะสอนเรื่องเลข 3 นั้นเป็นอย่างไร นับอย่างไร ต้องมีค่าเท่าไหร่ จะใช้การปั้นดินน้ำเป็นตัวเลข ได้พัฒนาการทางด้านปัญญา สังคม สติปัญญา และ ร่างกาย

    เกมทายตัวเลข
    เลขอะไรไม่เข้าพวก
    20 25 15 23
    ตัวอย่าง  เกณฑ์ 5 หารลงตัว  ตอบ 23 ต่างจากพวก
    เกณฑ์ มีเลข 2 อยู่ข้างหน้า ตอบ 15
    ** มีความเป็นไปได้ทุกตัว เนื่องด้วยเกณฑ์ที่ต่างกัน **

    โจทย์คือ
    ครูตั้งคำถาม
    48 หาร 2 = ?
    12 คูณ 2 = ?
    วันหนึ่งมีกี่ชั่วโมง ?
    คำตอบ คือ 24 
    >>>เราสามารถตั้งคำถามได้มากมาย คิดออกมาได้เรื่อยๆ คำตอบคือ โจทย์ นั่นเอง

    เพลง สวัสดียามเช้า
    ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า  อาบน้ำการแต่งตัว 
    กินอาหารดีมีทั่ว  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน  
    หลั่นล้า  หลั่นล้า  หลั่นล่า  ลันลา 
    หลั่นลา  หลั่นล้า
กิจกรรม ใครมาถึงมหาวิทยาลัยเวลาใด






วิธีการสอน
ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ถามตอบ โต้แย้งความ  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ใช้ Power Point  ในการเรียนการสอน และการถามคำถาม เพื่อสอดแสรกในเนื้อหา

สภาพห้องเรียน

 บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน 
อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้ในการเรียนแล้ว แอร์เย็นสบาย


ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนเรียน ตอบคำถาม และมีการจดบันทึกขณะเรียน


ประเมินเพื่อน

เพื่อนบางกลุ่มมาเรียนสาย และเพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังอาจรย์มีการตักเตือน เพื่อนๆจะช่วยกันตอบคำถาม


ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ให้แง่คิดในการนำเสนองานและอธิบายเทคนิคการสรุป

ใจความสำคัญที่ถูกต้อง

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 23 มกราคม 2558


                
                                            บันทึกการเรียน

                          ประจำวันศุกร์ ที่ 23  มกราคม 2558


                           

    ความรู้ที่ได้

- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง  เปรียบเสมือน ขั้นบันได

- ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ ทำให้รู้จักเด็กมากขึ้น มีความตระหนักในการจัดการเรียนรู้และทำให้จัด

ประสบการณ์ให้สอดคล้องกับตัวเด็ก

1.เรียนความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
2.เรียนการพัฒนาทางสติปัญญากับการทำงานของสมอง
3.เรียนการพัฒนาทางด้านสติปัญญา


1.1ความหมายของประโยชน์ของการพัฒนา
 เช่นการเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง  ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
วุฒิภาวะ

 ประโยชน์ของการพัฒนาการ

 1.ครูตระหนักในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

 2.ครูรู้จักเด็กในความดูแลมากขึ้น


    2.2พัฒนาการทางด้านสติปัญญากับการทำงานของสมอง
สติปัญญา
พัฒนาการทางสติปัญญา คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องทางด้านภาษาและการคิด
สมอง>เก็บข้อมูล >ประมวลผล> สั่งการ


  พัฒนาการทางด้านสมอง

 -ภาษา เหตุผล และเครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

 -การคิด การสร้างสรรค์

3.เรียนการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
การเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง   เช่น -เพียเจต์ -บรูเนอร์   -ไวกอตชกี้

 ความหมายและประโยชน์ของการเรียนรู้

การเรียนรู้ หมายถึง การรับรู้เข้ามาแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

*การรับรู้ คือ การรับรู้เข้ามาแล้วยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม*
ประโยชน์ของการเรียนรู้

 ทักษะในการสอน

-ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
-ก่อนเรียนก็จะอ่านคำคล้องจองเพื่อใช้จำคำได้ดี เพื่อที่จะจำได้แม่นขึ้น
 -ระดมความคิด แสดงความคิดเห็น แล้วตอบคำถาม




      คำคล้องจองเจ็ดวันบันเทิง

หน้า-กลาง-หลัง

               เรือใบ    สีแดง     แล่นแซง   ขึ้นหน้า
               เรือใบ    สีฟ้า       ตามมา     อยู่กลาง
               เรือใบ    ลำไหน    แล่นอยู่     ข้างหลัง
               สีขาว     ช้าจัง      อยู่หลัง     สุดเลย


>>จากคำคล้องจองสามมารถนำไปใช้ในเรื่อง สี ตำแหน่ง การเรียงลำดับ

ใหญ่-เล็ก

                   มาลี        เดินมา   เห็นหมา   ตัวใหญ่
                   มาลี        ร้องให้   ตกใจ      กลัวหมา
                   เห็นแมว   ตัวน้อย   ค่อยๆ      ก้าวมา
                   แมงเล็ก   กว่าหมา  มาลี       ไม่กลัว

 >>จากคำคล้องจองสามมารถนำไปใช้ในเรื่อง ขนาด การเปรียบเทียบ




วิธีการสอน
ใช้ Power Point  ในการเรียนการสอน 

สภาพห้องเรียน

โปรเจคเตอร์มีปัญหา และบรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนเรียน พูดคุยเป็นบางครั้ง ตอบคำถาม และมีการจดบันทึกขณะเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังและมีการตักเตือน เพื่อนๆจะช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม บางทีก็มีเล่นมุขสร้างเสียงหัวเราะให้กับนักศึกษา



วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 9 มกราคม 2558



                                        บันทึกการเรียน

                           ประจำวันศุกร์ ที่ 9 มกราคม 2558



1.ความรู้ที่ได้รับ

 คุณครูอธิบายการจัดประสบการ์ณคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและให้สรุปเป็น my mapping ของตนเอง


2.ทักษะ

 คือให้คิดว่าการจัดประสบการ์ณคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นแบบไหนและมีอะไรบ้าง เช่น

-การจัด
-ประสบการ์ณ
-เด็กปฐมวัย
-คณิตศาสตร์

3.วิธีการสอน
คือ การบรรยายในห้องเรียนไม่ใช้วิธีการสอนเพียงอย่างเดียว ยังมีการให้คิด ให้คิดตาม ให้หาคำตอบ การใช้คำถามเพื่อให้เด็กมีการคิดไปในตัว


องค์ประกอบของบล็อก

1.ความรู้ที่ได้รับ

2.ทักษะ

3.วิธีการสอน

4. ประเมินสภาพห้องเรียน ตนเอง เพื่อน และอาจารย์


ประเมินสภาพในห้องเรียน  


ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศเย็นสบาย แต่ไม่มีเครื่องโปรเจคเตอร์


ประเมินตนเอง 

มีความตั้งใจ ฟังและคิดตาม เพื่อจะได้เข้าใจในหัวข้อที่เรียนมากขึ้น


ประเมินเพื่อน  

 เพื่อนจะตั้งใจฟังไม่ค่อยคุยกันในห้อง และจะคิดตามเพื่อจะได้ตอบคำถามอย่างถูกต้อง


ประเมินอาจารย์
สอนเข้าใจง่าย สอนแบบให้เด็กคิดตามตลอดเวลา และให้โอกาสในการตอบคำถามในหัวข้อที่สงสัย

                   




                                 

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2558

                         
                                บันทึกการเรียน
                             ประจำวันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2558

                                  

1.ออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนในหัวข้อ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 คนเพื่อระดมความคิด เรื่องความหมายของคณิตศาสตร์
-ความหมายคณิตศาสตร์
-ความสำคัญคณิตศาสตร์
-ทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ประโยชน์หรับเด็กปฐมวัย
4.คุณครูแจกเอกสารให้แต่ละคน อ่านเอกสารที่ได้พร้อมทั้งสรุปเป็นบทความของตนเอง
5.สลับกลุ่มเอาหัวข้อของตัวเองพร้อมทั้งสรุปและนำมาพูดคุยกันเพื่อให้ได้บทความที่ดีที่สุด
6.กลับมากลุ่มเดิมและสรุปบทความของตนเองเพื่อนำไปเสนอหน้าชั้นเรียน



                 **  จากการระดมความคิดของกลุ่มจ้ำบ๊ะ  **



  ความหมายของคณิตศาสตร์

 วิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ การคิดเลข และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และกับทุกๆอาชีพ ถ้าเป็นเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข โดยจากการสังเกต และการเปรียบเทียบ ยิ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและสามารถจับต้องได้ ยิ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี


 ความสำคัญคณิตศาสตร์


  คณิตาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลมีนิสัยที่ละเอียดอ่อน รอบคอบ มีการคิดที่เป็นระบบ แบบแผน มีไหวพริบปฎิญาณที่ดีในการลงมือปฏิบัติเพื่อหาข้อพิสูจน์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานให้กับคนในสังคมเพื่อดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข


 ประโยชน์หรับเด็กปฐมวัย

 ทำให้เด็กเรียนรู้การจำแนก การจัดเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะหรือขนาดได้ และการทำให้คนเป็นผู้ที่มีความคิดเป็นระบบ มีเหตุมีผล รอบคอบ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ 

ทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 เป็นกระบวนการทางความคิดที่ต้องจัดตามความเหมาะสม กับการพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดและมีประสิทธิภาพ
 มีทั้งหมด 5 ทักษะดังนี้
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เลขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



2.ทักษะ


ได้คิดเเละสรุปบทความที่อาจารย์มอบหมายให้


ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน



3.วิธีการสอน

สอนโดยการให้รับฟังเเละการมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม

มีสื่อการสอนประกอบเป็นเพาเว่อร์พ้อย



4.ประเมินสภาพห้องเรียน


บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน อุปกรณ์ครบถ้วน 


ประเมินตนเอง


ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน จดบันทึกขณะเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม




5.ประเมินเพื่อน

เพื่อนในห้องเรียนมีความสนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี


6.ประเมินอาจารย์

แต่งกายอย่างเหมาะสม ระหว่างการเรียนมีกิจกรรมให้ทำเเบบน่าสนใจ

เพาเวอร์พ้อย ที่ให้ดูมีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย  ให้แง่คิดในการนำเสนองานและอธิบายเทคนิคการสรุปใจความสำคัญที่ถูกต้อง



(บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)

                   



                           

              บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                                        ผู้แต่ง

               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
                             
           การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ การสัมผัสแตะต้อง เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
         เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น



                                      ลิ้งค์บทความ



http://www.e-child-edu.com/youthcenter/content/articles/math-for-child.html