วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 3 เมษายน 2558


                                      บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

               บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 3 เมษายน 2558


ความรู้ที่ได้รับ

เขียนแผนการสอน






นำเสนอโทรทัศน์ครูและงานวิจัย


เลขที่ 25 นำเสนอโรทัศน์ครู เรื่องรายการทอค์ด อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1

         การจะสอนเด็กให้ดีสอนให้ง่าย ต้องสอนผ่านของเล่น เพราะเด็กเล็กจะเริ่มเรียนรู้ สี ขนาด รูปทรง
แล้วค่อยใช้สัญลักษณ์ตัวเลขเพราะเด็กอนุบาลจะเรียนรู้แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งครูจะสอนโดยใช้แกะเป็นสื่อโดยการถามเด็กผ่านสีของตัวแกะ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องขนาดแล้วสอดแทรกเรื่องการนับให้เด็กนับจำนวนแกะและใช้สัญลักษณ์ตัวเลขอีกวิธีหนึ่งคือวางตัวเลข 1 2 3 แล้วให้เด็กเอากระดุมวางตามจำนวนตัวเลข


เลขที่4 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่


     ใช้การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือมากกว่าหนึ่งคนในบางกิจกรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กทำงานไปตามลำดับความยากง่าย และเป็นไปตามความสามารถ และจังหวะ ช้า-เร็วของเด็ก โดยจัดให้เด็กรู้วงจรของงานคือ หยิบงานจากชั้นอุปกรณ์ ปฏิบัติงานจนเสร็จ แล้วจึงนำอุปกรณ์นั้นเก็บคืนชั้นด้วยตนเอง เด็กมีอิสระในการเลือกอุปกรณ์ทำงานด้วยตนเอง
 เด็กสามารถทำงานกับอุปกรณ์นานเท่าที่เด็กต้องการ ในการปฏิบัติกิจกรรมผู้วิจัยเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นให้กับเด็กก่อนที่เด็กจะทำงานด้วยตนเอง 
     วิธีการของมอนเตสซอรี่ โดยผู้วิจัยคัดเลือกกิจกรรม 15 กิจกรรม ให้สอดคล้องเหมาะสมกับอายุของ
เด็กปฐมวัยที่จะศึกษา คือ อายุระหว่าง 4-5 ปี 


เลขที่5 นำเสนอวิจัย เรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการ
                     ศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียน
กาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก        ประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาเเละเพลง 30 คน
กลุ่มที่สอง    จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 30 คน

เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มี
ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์


เลขที่ 6 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  

  ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น 

1. ด้านการสังเกตและการจำแนก

 2.ด้านการเปรียบเทียบ



 แบ่งกลุ่มเขียนมายแม็บและแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีหัวข้อเรื่องคือ สุนัข กล้วย แตงโม ไก่

 ซึ่งการออกแบบกิจกรรมจะต้องประกอบไปด้วย
  1. ศึกษา สาระที่ควรเรียนรู้
  2. วิเคราะห์เนื้อหา
  3. ศึกษาประสบการณ์สำคัญ
  4. บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
  5. ออกแบบกิจกรรม
กลุ่มของดิฉันได้ห้วข้อ กล้วย

แล้วนำเนื้อหาดังกล่าวนี้ไปเขียนแผนการสอน



ทักษะ

คิดวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอนเรียงลำดับ

กระบวนการการทำงานเป็นกลุ่ม

รู้จักการตั้งคำถามในหัวข้อที่ควรจะเน้นเป็นสำคัญ เเละไหวพริบในการตอบคำถาม

การพูดคำเเต่ละให้ชัดถ้อยชัดคำ


วิธีการสอน

สอนโดยการใช้สื่อคือกล้วยของจริงเพื่อเป็นตัวอย่างในการคิดการสอนโดยใช้เเผน

เพื่อให้รู้ว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งรอบตัวในแต่ละวัน

 สอนโดยการให้ผู้เรียนเป็นสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง

เมื่อสิ่งไหนที่ไม่เข้าประเด็นอาจารย์ก็จะเสริมต่อเเนะนำให้เพื่อให้ได้วามรู้ที่ถูกต้อง



ประเมินห้องเรียน

สภาพห้องเรียนสะอาด ไม่มีขยะ อากาศอยู่ในอุณหภูมิที่พอดี มีจำนวนเก้าอี้ที่เพียงพอต่อนักศึกษา


ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังเเละให้ความร่วมมือกับสิ่งที่ครูสอนเเละการทำกิจกรรม มีส่วนร่วมในการพรีเซ้นต์งานร่วมกับกลุ่ม


ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนเเต่ละกลุ่มที่ออกไปนำเสนองาน ช่วยกันถามในข้อที่ไม่เข้าใจ ช่วยกันขยายความรู้ออกจากสิ่งเดิมที่แต่ละลุ่มนำเสนอ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนตรงตามเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม  เเนะนำเรื่องการนำเสนอเเละวิธีการนำไปปรับปรุงใหม่ในครั้งหน้าอย่างสมบูรณ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น